top of page
Mission

MISSION AND CULTURE

“ We work each and everyday to help people grow their business ”

ภารกิจของบริษัทเราคือ การทำงานในทุก ๆ วัน เพื่อช่วยธุรกิจไม่ว่าจะเล็ก กลาง ใหญ่ ให้สามารถเติบโต ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนดำเนินการ สร้างวิธีหรือช่องทางเพื่อเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจของผู้อื่น 

ทีมงานเราคือคนที่มีทักษะ ความมุ่งมั่น ความรับผิดชอบ ที่จะช่วยให้ผู้อื่นประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ และนำความสำเร็จนั้นมาต่อยอด เพื่อสร้างธุรกิจและทีมงานให้เติบโตอย่างมั่นคง

#SINCE2012  #DIGIOHANDBOOK

img-handbook.png
Activity.png

Mission and Culture

Chart.png

Core Values

Work.png

Career Path

Core-Values

CHAPTER 1 : WHAT WE STAND FOR

 
Core Values

ค่านิยมเป็นกรอบความคิด ความเชื่อที่บริษัทดิจิโอ เราใช้ในการกำหนดวิธีคิด วิธีปฏิบัติงาน และการใช้ชีวิตในบริษัทดิจิโอ เพราะค่านิยมจะทำให้เราเดินทางไปถึงภารกิจของเราได้อย่างมั่นคง และตระหนักว่าเรากำลังทำงานเพื่ออะไร ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายจากงานที่ต้องทำ ความคาดหวังของลูกค้า ไปจนถึงปัญหาภายในบริษัทหรือจากเพื่อนร่วมงาน อยากให้ทุกคนได้กลับมาทบทวนถึงภารกิจและค่านิยมที่เราให้ความสำคัญ และใช้สิ่งนี้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและเป็นแนวปฏิบัติต่อไป

1. Integrity : Building trust from integrity
มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

การที่เรามีคุณธรรม ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น จะทำให้ก่อเกิดความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น 


#คุณธรรม คือการทำสิ่งที่ถูกต้องตลอดเวลา ในทุกสถานการณ์ ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครมองอยู่ก็ตาม เราจะต้องใช้ความกล้าในการทำสิ่งที่ถูกต้องไม่ว่าจะต้องเผชิญต่อผลกระทบอะไรก็ตาม  เราอาจใช้เวลาหลายปีเพื่อพิสูจน์คุณธรรม ในตัวเอง แต่มันสามารถถูกทำลายได้ในไม่กี่วินาที เพราะฉะนั้นจงอย่าทำอะไรที่จะเป็นการทำลายคุณธรรมของตัวเราเอง

  • ผู้สมัครงานโฆษณาตัวเองเกินจริงตอนสัมภาษณ์งานเพราะอยากได้งาน  

  • พนักงานดูแลลูกค้าพยายามปกปิดความผิดพลาดของตัวเอง เพราะกลัวว่าจะเสียลูกค้าไป

  • พนักงานรับปากสิ่งที่เกินจริงกับลูกค้า แล้วส่งมอบในสิ่งที่ต่ำกว่า ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ยอดขายถึงเป้า

  • พนักงานขอลาป่วยเนื่องจากไม่มีวันลาเหลือเพื่อไปเที่ยวสังสรรค์ และยังมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งในแต่ละสถานการณ์ คนที่กระทำการไม่ซื่อสัตย์ต่างก็มีเหตุผลอ้างกับตัวเอง ว่าผลลัพธ์ที่พวกเขาได้ทำเหล่านั้นสร้างความชอบธรรมต่อความไม่ซื่อสัตย์ของตนอย่างไร มันอาจดูเหมือนว่าคนเราสามารถมีอำนาจได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายถ้าพวกเราใช้ทางลัดและกระทำการต่างๆ โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านศีลธรรม
 
เราสามารถเห็นตัวอย่างมากมายว่ามีคนที่ไม่ซื่อสัตย์แต่ประสบความสำเร็จ และสามารถชนะโดยไม่ถูกจับได้ ทำให้เราเกิดการรับรู้ผิดๆถึงหนทางสู่ความสำเร็จให้เราเดินตาม เห็นได้ว่าถึงแม้บุคคลในตัวอย่างข้างต้นจะได้สิ่งที่ต้องการในช่วงเวลาหนึ่ง แต่กลับต้องจ่ายด้วยราคาแพงอย่างน่ากลัวกับผลกระทบที่ตามมาเมื่อพวกเขา
สูญเสียความน่าเชื่อถือไป ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดในช่วงชีวิตของคน
 
คุณค่าของความไว้วางใจที่ผู้อื่นมีต่อเราไม่สามารถจะคำนวณได้ เพราะมันจะมอบโอกาสอย่างไม่จำกัดและความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งให้ผลในทางตรงกันข้าม กับคนที่เราไม่สามารถเชื่อถือความซื่อสัตย์ของเขาได้

“ หากเราตัดสินใจจะจ้างพนักงาน เราจะมองหา คุณสมบัติ 3 ประการ 
  1. คุณธรรม ความซื่อสัตย์ 
  2. ทัศนคติ 
  3. ความสามารถในการเรียนรู้ ”

แต่คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดคือประการแรก นั่นคือ คุณธรรม เพราะว่า ถ้าคนที่เราจ้างนั้นไม่มีคุณธรรม คุณสมบัติที่เหลืออีก 2 ประการนั้นจะย้อนกลับมาเล่นงานเราเอง ความไม่ซื่อสัตย์ของคนจะตอบสนองพวกเขาเอง อาจจะไม่ใช่วันนี้ หรือภายในไม่กี่ปีข้างหน้า แต่มั่นใจได้เลยว่ามันจะต้องมาถึงแน่นอน
 
เราไม่สามารถละเลยการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ของการทุจริต เช่นการลักเล็กขโมยน้อยแม้ว่าจะเป็นของที่ไม่มีมูลค่าในที่ทำงาน บุคคลใดที่ไม่สามารถไว้วางใจในเรื่องที่ง่ายที่สุด เราจะไว้วางใจในงานที่ยุ่งยากและซับซ้อนต่างๆ ของธุรกิจได้ยังไง
 
ถ้าเราล้อมรอบไปด้วยคนที่ไม่ซื่อสัตย์และทำงานแบบขอไปที เราจะพบว่าตัวเราจะมีรูปแบบพฤติกรรมโดยเริ่มจากอดทนต่อพฤติกรรมของพวกเขา แล้วยอมรับพฤติกรรมของพวกเขา และสุดท้ายจะรับไปเป็นพฤติกรรมของตนเอง
 
หากเราต้องการสร้างชื่อเสียงด้วยการมีคุณธรรม จงล้อมรอบตัวเองกับคนที่มีความคุณธรรม

“ Do what is right,
let the consequence follow. ”

จงทำในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วปล่อยให้ผลลัพธ์ตามมาเอง

“ ความสำเร็จมาได้ ก็จากไปได้
แต่คุณธรรม (Integrity) จะอยู่กับเราตลอดไป ”
 
2. Value Added : Creating value for yourself, company and customers สร้างคุณค่าแก่ตนเอง บริษัท และลูกค้า

ในฐานะพนักงานของดิจิโอ สิ่งที่เราคาดหวังจากพนักงานทุกคนคือการสร้างและเพิ่มคุณค่า เพิ่มมูลค่า
เพิ่มประโยชน์ โดยเราแบ่งจำแนกการสร้างคุณค่าออกเป็น 3 กลุ่มคือ

A. พนักงาน

สร้างคุณค่าให้ตัวเอง พัฒนาให้มีทักษะ ความสามารถใหม่ ๆ อยู่เสมอ ดิจิโอ เป็นบริษัท IT ทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของบริษัทไม่ใช่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อาคารสำนักงาน เครือข่ายเน็ตเวิร์ค ที่เรามี แต่เป็นพนักงานและทีมงานทุกคน เพราะพนักงานคือคนที่สร้างสรรค์ พัฒนาสินค้าและบริการ ที่นำไปให้ลูกค้าของเราใช้ หากเราไม่มีพนักงานที่เป็นแกนกลางหัวใจสำคัญ ความยั่งยืนและเติบโตของบริษัทเราย่อมมีจำกัดและถึงทางตันได้ 

  • ศึกษาหาความรู้เครื่องมือ ภาษา / Framework / Library ใหม่ ๆ 

  • พัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ 

  • พัฒนาทักษะการสื่อสาร ทั้งการเขียน และพูด

  • ร่วมพัฒนาโครงการ Open Source สาธารณะ ที่ตนเองสนใจ

  • เรียนหลักสูตรเนื้อหาที่สนใจในช่องทาง Online หรือหนังสือ และสอบประกาศนียบัตร

 

B. บริษัท

ใช้ทักษะและความสามารถที่มีในตนเอง ช่วยบริษัทพัฒนาสินค้าและเสนอบริการ ที่มีอยู่ให้เติบโต ทั้งในแง่ความสามารถ ประโยชน์ ความสะดวกในการใช้งาน ดูแลรักษาได้ง่าย ระบบมีความพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา 24 x 7 ตลอดไปจนถึงการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ทำงาน ดูแลเพื่อนพนักงานที่ทำงานร่วมกัน 

 

C. ลูกค้า

ใส่ใจ ดูแลลูกค้า โดยมองที่ผลประโยชน์และความสำเร็จของลูกค้าเป็นที่ตั้ง 

มีหลายครั้ง ที่เราตัดสินใจนำเสนอบริการของคู่แข่งให้กับลูกค้า โดยไม่ได้มองว่าเราจะเราจะเสียผลประโยชน์หรือกำไรไป ในบางครั้งสิ่งที่เรามีอยู่อาจจะยังไม่เหมาะสมหรือสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ทันที แทนที่จะต้องให้ลูกค้ารอเพื่อให้ใช้บริการของเราในอนาคต จะดีกว่าไหมที่เราสามารถช่วยเป็นที่ปรึกษาและนำเสนอบริการที่ทำให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีได้เสียตั้งแต่วันนี้ เพราะเราความสำเร็จของลูกค้า ที่เกิดจากความใส่ใจอย่างจริงใจและความตั้งใจที่ดีของเรา จะรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าไว้ในระยะยาวมากกว่ากำไรเพียงชั่วคราว 

 
3. Efficiency : Make it work, make it right, make it fast ทำให้ได้ ทำให้ถูก ทำให้เร็ว

ทีมเรามีประสบการณ์ในการที่จะต้องทำงานและส่งมอบงานภายใต้ความกดดันอยู่เป็นประจำ ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งเรื่องเวลาส่งมอบงานที่มีอยู่จำกัด พนักงานที่จะต้องช่วยงานนั้นไม่ได้มีเวลาเต็มร้อย เพราะอาจจะติดงานในโปรเจคอื่นที่ต้องดูแลคู่ขนานกัน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ทำงานมีหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำอยู่อย่างจำกัด แต่ต้องการให้รองรับจำนวนรายการธุรกรรมให้ได้เป็นจำนวนมาก นี่คือชีวิตจริงที่เราต้องเผชิญอยู่ในบริษัททุกวันเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ปัญหาเราจะไม่ได้ลดลงและทรัพยากรที่มีอยู่ เราไม่ได้สามารถเพิ่มได้ทันที หน้าที่ของพวกเราทุกคนคือ จะทำอย่างไร ให้เราสามารถบรรลุผลสำเร็จให้ได้ภายใต้ข้อจำกัดเหล่านี้

 

แม้เราจะทำงานโดยเน้นผลสำเร็จเป็นที่ตั้ง ดังคำที่หัวหน้างานเราชอบพูดติดปากกันเสมอในบริษัทคือ

“Make it work, Make it right, Make it fast"
  • Make it work คืองานให้ได้ผลลัพธ์ (Output) ก่อนเป็นอันดับแรก หากเราต้องพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อแก้ปัญหาซักอย่าง เราอยากจะได้ระบบที่ทำงานแล้วให้ผลลัพธ์แก่เราได้เป็นอันดับแรก
     

  • Make it right คือการทำได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง (Correctness) ตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งใจ และวางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราทำซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงิน และคนจำนวนมาก หากเกิดความผิดพลาดเกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบอันใหญ่หลวงกับลูกค้า และขั้นร้ายสุดคือบริษัทเราเองต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา
     

  • Make it fast คือการปรับปรุงการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ (Effectiveness / Productivity / Optimization) สามารถลดเวลาการทำงาน หรือลดทรัพยากร หรือลดต้นทุนในการดำเนินลงไปได้ ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 

 

ข้อจำกัดที่เราเจออยู่เป็นประจำคือจำนวนคนที่เรามีจำกัดเมื่อเทียบกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่บริษัทเราต้องดูแลทั้งหมด ระบบชำระเงินและธุรกรรมที่เกี่ยวข้องของธนาคารเกือบทุกแห่งในประเทศไทยที่เป็นลูกค้าของบริษัท ฉะนั้นเราให้คุณค่าของเวลาที่พนักงานดิจิโอใช้เป็นอันดับแรก แล้วหาทางปรับปรุงกระบวนการทำงาน หรือพัฒนาเครื่องมือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาช่วยเราแก้ปัญหาให้ทำงานลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
4. Responsibility : Taking ownership and responsibility รับผิดชอบต่องานและผลของงาน

มีความเข้าใจในภาระหน้าที่ สิ่งที่ต้องรับผิดชอบ และผลลัพธ์ที่ตัวเองได้กระทำลงไป ซึ่งความรับผิดชอบนั้นมีอยู่หลายระดับจากพื้นฐานที่ตัวเอง ไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ อันนี้ไม่ได้เว่อห์แต่เพราะสิ่งที่เราทำอยู่มันมีความรับผิดชอบมหาศาลจริง ๆ นะ

 

1. รับผิดชอบต่อตัวเอง พนักงานมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องเวลา สุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ วินัยทางการเงิน รวมไปถึงครอบครัวคนใกล้ชิดเช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง แฟน พื้นฐานของการเริ่มต้นที่ดีเกิดจากสมดุลในชีวิต หากเราไม่ดูแลตัวเองให้ดีพอแล้ว สุดท้ายก็จะมีผลกระทบกับการทำงานที่ต้องรับผิดชอบในที่สุด 

2. รับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน เวลาที่ใช้ในการทำงาน หน้าที่ที่ได้รับปากมอบหมายไหว้วาน เมื่อรับแล้วต้องทำให้สำเร็จลุล่วงในเวลาที่มีจำกัด กล้ารับ กล้าตัดสินใจ กล้าลงมือทำ 

3. รับผิดชอบต่อผลงาน เมื่อได้ทำงานลุล่วงไปแล้ว แต่ทุกครั้งเรามีความรับผิดชอบที่ต้องดูแลสิ่งที่เราได้ทำลงไป ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ 

 

มีประโยคที่น้องพนักงานทุกคนจะได้ยินพี่พูดบ่อย ๆ คือ

“รายได้บริษัทเรามีจำกัด แต่ความรับผิดชอบไม่จำกัด”

4. รับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า สังคม 
 

งานหลายอย่างไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จลุล่วงได้ด้วยคนเพียงคนเดียว จะต้องมีการทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร ประสานงานกับเพื่อนร่วมงาน การรับ ส่งงานที่ต้องทำร่วมกัน บางครั้งเพื่อนร่วมงานที่เราต้องทำงานด้วยอาจจะต้องได้ผลลัพธ์จากงานที่เรารับผิดชอบ จึงจะทำงานในส่วนของเค้าให้สำเร็จได้ และหากเราทำส่งต่องานได้ช้า อาจจะกระทบให้เพื่อนร่วมงานต้องทำงานดึกและขาดการพักผ่อนได้

 

ด้วยความที่เราทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงิน เราต้องการที่จะสร้างระบบการเงินที่ดี มีความโปร่งใส เป็นธรรม เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมให้เติบโตไปข้างหน้า เราจะไม่ทำระบบการเงินที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ไม่ส่งมอบมูลค่าให้ลูกค้าน้อยกว่าผลตอบแทนที่เราได้รับ เราเชื่อในการสร้างธุรกิจด้วยความยั่งยืน ส่งมอบผลประโยชน์และผลสำเร็จให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง คู่ค้า ลูกค้า และสังคม

5. Respect : Be respectful ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

การให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นการหล่อหลอมพฤติกรรมที่ดีงามไม่ว่าเราอยู่ในตำแหน่งไหนในองค์กรหรือแม้แต่คู่ค้าและลูกค้า ทุกคนมีเกียรติที่เท่าเทียมกัน ทุกคนควรจะต้องเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน แต่การที่เราจะทำให้คนอื่น ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือลูกค้าของเรา เคารพเรานั้น เราต้องให้ความเคารพแก่เขาก่อน “Treat others the way you want to be treated”

 
ตัวอย่างของการให้เกียรติ
  • หากเราไม่ต้องการให้ผู้อื่นพูดจาหยาบคาย เราควรจะพูดอย่างสุภาพแก่เขา
  • หากเราต้องการให้คนอื่นทำดีกับเรา เราควรจะต้องปฏิบัติดีกับเค้าเช่นกัน

ความเคารพและให้เกียรติ เป็นพื้นฐานของความสำเร็จของธุรกิจที่เกิดจากการอยู่และทำงานร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง

 
"การแสดงถึงความเคารพต่อคนอื่น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน การเรียนรู้ที่จะเคารพในความตั้งใจ ความสามารถ ความคิดเห็น และความแตกต่างของคนอื่น จะช่วยทำให้เราเป็นคนที่มีความสุข และประสบความสำเร็จในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ได้ นอกจากนี้ การให้ความเคารพต่อตัวเองยังจะช่วยทำให้เราสามารถใช้ชีวิตต่อไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจว่าตัวเองจะสามารถแสดงออกถึงความเคารพได้จนเป็นนิสัย และแบ่งปันสิ่งนี้ให้กับคนที่อยู่รอบๆ ตัวเราได้ด้วย"

พฤติกรรม ที่เป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อตัวเองและผู้อื่น ได้แก่ 

  • เคารพในความตั้งใจ - แสดงความขอบคุณออกมา, ชื่นชมในความสำเร็จของคนอื่นอย่าง จริงใจ ทำในสิ่งที่บอกว่าจะทำ เสนอความช่วยเหลือ เคารพในความสามารถของบุคคล
     

  • เคารพในความคิดเห็น - เป็นผู้ฟังที่ดี ถามคำถามให้เยอะๆ เรียนรู้เกี่ยวกับมุมมองของคนอื่น เลือกตอบโต้ในส่วนที่สำคัญจริงๆ แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างสุภาพ 
     

  • เคารพตนเอง - ดูแลตัวเองให้ดี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายตนเอง ทำร่างกาย จิตใจให้เข้มแข็ง รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความทะเยอทะยานบ้าง
     

  • เคารพ 'ศัตรู' - อย่าไปตัดสินใครจนกว่าจะรู้จักตัวตนของพวกเขา เปลี่ยนใจไปยอมรับในตัวคนอื่นบ้าง หากเราไม่รู้ว่าจะพูดอะไรที่เป็นประโยชน์ออกมาได้ เราก็น่าจะรู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ให้โฟกัสอยู่กับเรื่องของตัวเองบ้าง มีส่วนร่วมกับคนอื่น


เมื่อเราให้เกียรติและเคารพผู้อื่น รางวัลตอบแทนชื่นชมกับพฤติกรรมที่เราแสดงออกคือ การเป็นที่ยอมรับ จากผู้ที่เราทำงานด้วย

 
Career

CHAPTER 2 : MAKING A CAREER

Career Path

ทำงานในบริษัทมีตำแหน่งและความก้าวหน้าในการการทำงานอย่างไรบ้าง? เป็นคำถามที่มักจะได้ยิน Feedback จากน้อง ๆ ตอน 1-1 อยู่บ่อย แล้วการที่พนักงานจะมีความก้าวหน้าในอาชีพและตำแหน่งที่ทำในองค์กรนั้นเกิดจากอะไร?

หากเราพอใจที่จะให้บริษัททำงานเหมือนเดิม ทำเท่าเดิม มีรายได้เท่าเดิม แปลว่าเราจะต้องควบคุมต้นทุนให้เท่าเดิม พนักงานอาจจะไม่มีเงินเดือนเพิ่มในที่สุดพนักงานก็จะลาออกหางานใหม่ ที่เงินเดือนมากกว่าเดิม ฉะนั้น หากเราต้องการสร้างบริษัทให้เติบโตขึ้น เพื่อจะได้สร้างโอกาสให้พนักงานมี Career Path ที่ก้าวหน้า ทางเดียวที่จะทำได้คือทำให้บริษัทเติบโต 

เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น มีรายได้มากขึ้น กำไรมากขึ้น หน้าที่ ความรับผิดชอบของพนักงานทุกคนก็จะมากขึ้นพร้อม ๆ กับผลตอบแทนที่จะต้องเติบโตสอดคล้องกันไปเช่นกัน

Job Titles

เรามีหลักเกณฑ์ในการประเมิณพนักงานที่ทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ แต่ละคนว่าจัดอยู่ใน Level ใดของตำแหน่งนั้นๆ โดยเกณฑ์ที่อยู่ข้างล่างนี้ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดและไม่ได้เป็นรายการตรวจสอบที่แน่นอน แต่เป็นเพียงแค่แนวทางในการพัฒนาตัวเองของพนักงานในแต่ละตำแหน่งเท่านั้น

โดยเกณฑ์ทั้งหมดเป็นเพียงตัวอธิบายลักษณะงาน, ความสามารถ และความรับผิดชอบของตำแหน่งในแต่ละ Level เพื่อให้น้องๆตรวจสอบตัวเองว่าน้องๆนั้นเหมาะสมที่จะอยู่ Level ใด เนื่องจาก Level ต่างๆจะส่งผลที่ผลตอบแทนและความรับผิดชอบที่น้องๆจะได้รับมากขึ้นตามแต่ละ Level

หากใครอ่านแล้วคิดว่าตำแหน่งที่ตัวเองอยากทำไม่มีในนี้ก็อย่างเพิ่งตกใจ หรือน้อยใจไป ทีมอาจจะเขียนได้ไม่ครบทุก ๆ ตำแหน่ง หรือหากว่าใครคิดว่าตำแหน่งที่บริษัทมีไม่ตรงกับสิ่งที่อยากทำ ลองมาคุยกัน เดี๋ยวเราช่วยกันสร้างตำแหน่งใหม่ ๆ ให้ :)
 

Mobile Developer / Full Stack Developer

Junior Developer

  • มีพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะปัญหาที่ดี (Logical Thinking)

  • มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบเป็นอย่างดี (Basic OOP, Data Structure, Database Design, Basic Network and Security)

  • มีความเชี่ยวชาญ สามารถใช้ภาษาในการพัฒนาโปรแกรมได้ดี (Basic language and framework are mastered)

  • สามารถใช้คำสั่งพื้นฐานของ Command Line ได้คล่องแคล่ว (Linux command, Powershell, Scripting, etc)

  • พัฒนาและแก้ไขปัญหาตามขอบเขตและเวลาที่กำหนดไว้จากทีมงาน

  • มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับหมอบหมาย

  • ยังจำเป็นให้มีคนมา Review Code ที่ตนเองเขียน (Coding Quality)

  • มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน 1-3 ปี

Developer

  • เชี่ยวชาญการใช้ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในระดับพื้นฐานและในระดับสูง

  • สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาซอฟต์แวร์ตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี

  • สามารถสื่อสารกับทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม

  • ให้คำปรึกษาพร้อมแนวทางการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาให้ Junior และ Developer ได้ (Knowledge Sharing)

  • สามารถออกแบบระบบที่มีความซับซ้อนในระดับพื้นฐานถึงกลางได้ (Database Design, Application Architecture, Design Pattern Approach)

  • มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างน้อย 2-5 ปี

Senior Developer

  • สามารถรับผิดชอบงานด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องมีคนดูแล (Manager of One)

  • ให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหา ดูแลทีมงานได้ (Mentoring)

  • มีความเข้าใจในรายละเอียดของระบบที่พัฒนาและรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี

  • สามารถทำให้แนวคิด ไอเดีย โปรดักส์/บริการ ที่จะทำ กลายเป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้จริง ตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วยตนเองได้

  • มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถในเชิงลึกของภาษาและ Framework ที่ใช้ในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ภาษา มีความรู้พื้นฐานพัฒนาซอฟต์แวร์มากกว่า 2 ภาษา และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

  • มีความรู้ ความสามารถพื้นฐานของภาษาพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่น้อยกว่า 2 Platforms

  • มีประสบการณ์ทำงานเฉพาะทางในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างน้อย 6-9 ปี

Lead Developer

  • ดูแลและจัดการทีมที่มีขนาดขนาดกลางหรือใหญ่ให้บรรลุเป้าหมายได้ (Executive/Manager)

  • กำหนดและรักษามาตรฐานในการทำงานของทีม และบริษัทดิจิโอได้

  • สามารถควบคุมการพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อนได้มากกว่า 2-3 โครงการพร้อมกัน

  • มีทักษะในการสื่อสารกับคนในองค์กรและลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม

  • พัฒนากระบวนการ วิธีการต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์และปรับปรุงระบบเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป

Quality Assurance (QA)

QA คือ คนที่จะทำงานร่วมกับทีมเพื่อคำนึงคุณภาพของงานตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการพัฒนา ช่วยกันตรวจสอบและหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด รวมถึงนำเสนอเครื่องมือหรือกระบวนการต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของงาน สำหรับเราแล้ว

 

QA คือคนสำคัญคนหนึ่งในทุกขั้นตอนของการส่งมอบงานที่เราพัฒนาขึ้นให้แก่ลูกค้า เช่น

 

Requirement Analysis

  • เข้าใจระบบงาน ความต้องการ และวัตถุประสงค์ของฟีเจอร์กำลังพัฒนา

  • ร่วมกำหนด Acceptance Criteria
     

System Design

  • หาช่องโหว่/ข้อผิดพลาด ตั้งแต่ช่องโหว่/ข้อผิดพลาดยังไม่เกิด เพื่อป้องกัน

  • ร่วมออกแบบระบบว่าควรคำนึงถึงการใช้งานในรูปแบบใดบ้าง
     

Development

  • ร่วมมือกับทีมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

  • ทดสอบให้มั่นใจได้ว่าระบบทำงานได้ตาม Acceptance Criteria

  • ร่วมนำเสนอฟีเจอร์ / สิ่งที่แก้ไขไปให้กับลูกค้า รวมไปถึงแนะนำการใช้งานหรือแก้ปัญหาเบื้องต้น
     

Deployment

  • เข้าใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแก้ไข  และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อหาวิธีป้องกัน

  • ทดสอบให้มั่นใจได้ว่าสิ่งที่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขนี้ ทำงานตรงตามความต้องการ

  • ร่วมมือกับทีมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

  • จัดทำคู่มือหรือคำแนะนำการใช้งาน

Junior Quality Assurance

  • เข้าใจในพื้นฐานกระบวนการการควบคุมคุณภาพของซอฟต์แวร์

  • เข้าใจการทำงานของระบบงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ทั้งเชิงการใช้งาน และเชิงเทคนิคเบื้องต้น

  • สามารถทำการทดสอบระบบงาน วิเคราะห์ และจัดทำสรุปรายงานการทดสอบระบบได้ (Trouble Shooting, Reproducing, Reporting)

  • มีความเข้าใจพื้นฐานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Basic Computer Programming, SQL, Database, Web Service)

  • ทักษะการใช้ Excel ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง

Quality Assurance

  • ​มีทักษะในการทำการทดสอบในรูปแบบต่างๆ เช่น การทดสอบประสิทธิภาพในการรองรับผู้ใช้งาน (Performance Testing)  การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องแบบอัตโนมัติ (Automate Test) เป็นต้น

  • หาเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทีม เช่น นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสร้างรายงาน (SQL, Logging, Debugging, Reporting)

  • เข้าใจในระบบงานที่รับผิดชอบ ประเมินผลกระทบได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข (Change Management)

  • แนะนำการใช้งาน การแก้ปัญหาแก่ลูกค้าได้ 

  • เมื่อเกิดปัญหา สามารถตรวจสอบและระบุหาสาเหตุของปัญหาได้

Senior Quality Assurance

  • ​ถ่ายทอดทักษะต่างๆ ในด้านการควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์ให้กับทีม

  • สร้างมาตรฐาน รูปแบบการทำงาน รวมถึงเครื่องมือต่างๆ อย่างเหมาะสม ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับทีม

  • มีความเข้าใจในระบบงานโดยละเอียด สามารถนำเสนอโซลูชั่นหรือแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ ได้

Full Stack Designer

บริษัทดิจิโอ เป็นบริษัทที่เน้นเรื่องการทำ Turnkey  Solution หรือการนำเสนอกระบวนการทำงานแบบ end to end ให้กับลูกค้า และเรายึดถือหลักการการเติบโตไปพร้อมกับลูกค้าของเรา ดังนั้นผู้ที่จะเข้ามามีบทบาทในการออกแบบทุกอย่างของโครงการ จะต้องสามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้า และการทำงานขององค์กรได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถผลิตงานออกแบบเพื่อสื่อสารได้ครอบคลุมในทุกๆด้าน โดยมุ่งเน้นไปในเรื่องการใช้งานมีประสิทธิภาพเป็นหลัก แล้วจึงออกแบบเรื่องความสวยงานตามมา (Forms Follow Function) 

โดย Designer ของบริษัทดิจิโอ ควรมีความสามารถในการสื่อสารและออกแบบได้ทั้งบนงานสื่อ 2D และออกแบบระบบที่ต้องมีผู้ใช้งานเข้ามา Interact (User Interface) มีรสนิยมที่ดี เป็นผู้ที่ศึกษาหรือตามกระแสการออกแบบอยู่เสมอ
 

Junior Designer

Designer เป็นลำดับขั้นถัดมา โดยต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานและเข้าใจในเนื้อหาความรับผิดชอบของตนเอง สามารถเป็นผู้ริเริ่มและมอบหมายงานให้ตนเอง จากการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เข้าใจและสามารถแยกแยะงานออกแบบที่ดีได้

  • สามารถฟัง ดู และสรุปประเด็นความต้องการของผู้ใช้งานได้ ต้องสามารถสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจด้วย การ Visualise ได้

  • เข้าใจพื้นฐานการทำงานของแอพพลิเคชั่นและโปรแกรมต่างๆเป็นอย่างดี สามารถนำความรู้ที่มีต่อยอดในการออกแบบ UX/UI ได้

  • คุ้นเคย Tools ที่ใช้ในการทำ User Experience Design เช่น การทำ User Analyst, การทำ User Journey และการทำ Persona 

  • สามารถสื่อสารใจความสำคัญผ่านออกแบบงานกราฟฟิคเบื้องด้น ด้วยโปรแกรม AI และ PS ได้ 

  • เข้าใจการเขียน HTML/CSS เบื้องต้น เพื่อนำมาออกแบบเป็น Wireframe และ User Interface ผ่านเครื่องมือ Figma หรือ Sketch ได้ดี

  • มีทักษะการเล่าเรื่องที่ดี (Story Telling) เช่น สามารถคิดเนื้อหา และออกแบบไฟล์นำเสนอได้ด้วยเครื่องมือ Power Point หรือ Keynote

  • สามารถออกแบบตาม Guildeline ที่บริษัทกำหนดได้อย่างถูกต้อง

Designer

Designer เป็นลำดับขั้นถัดมา โดยต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานและเข้าใจในเนื้อหาความรับผิดชอบของตนเอง สามารถเป็นผู้ริเริ่มและมอบหมายงานให้ตนเอง จากการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เข้าใจและสามารถแยกแยะงานออกแบบที่ดีได้

  • ​สามารถดำเนินการเก็บ Requirement ของลูกค้า วิเคราะห์และสรุปงานได้ด้วยตนเอง 

  • เป็นผู้กำหนดทิศทาง หรือ Guildeline ของงานออกแบบของบริษัท เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำไปทำงานต่อได้

  • เป็นผู้นำในการศึกษาเทคโนโลยี หรือช่องทางใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น 

  • กรณีมีโจทย์ที่ต้องสร้างระบบที่ไม่ซับซ้อน Designer ต้องสามารถเลือกใช้เครื่องมือ หรือ Platform สำเร็จรูปที่มีอยู่ เพื่อ deliver งานนั้นๆให้ได้

  • เข้าใจหลักการการเขียน Code สามารถแก้ไขงาน Frontend ได้ในเบื้องต้น

Senior Designer

Senior Designer คือผู้ที่ต้องรับผิดชอบการทำงานของตนเอง และต้องสามารถตรวจรับงานของผู้อื่นได้ ต้องมีรสนิยมในการออกแบบที่ดี สามารถกำหนดทิศทาง Key Messege โดยรวมของบริษัทได้ และต้องมีความรู้ในเรื่องการ Coding สามารถทำงานไปด้วยกันกับ Developer ได้เป็นอย่างดี 

  • ​สามารถรับผิดชอบงานให้สำเร็จด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องมีคนดูแล

  • มองเห็นภาพกว้างของบริษัท และเข้าใจ Product ทั้งหมด เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทาง Key Messege ให้กับบริษัทได้ 

  • เชี่ยวชาญในการเขียน HTML /CSS และศึกษาการเขียนใหม่ๆอยู่เสมอ สามารถออกแบบและ Deliver งานได้ด้วยตัวคนเดียว

  • สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับ Designer อื่นๆในบริษัท สามารถ Share และสร้างหลักการการออกแบบที่ดีให้กับผู้อื่นได้

Implementer and Supporter

Implementer and Supporter เป็นตำแหน่งที่เป็นผู้ที่ทำงานให้สมบูรณ์ เป็นผู้ที่รับช่วงต่อจาก Developer เพื่อนำงานนั้นๆมา Deploy และต้องทดสอบระบบเพื่อยืนยันว่าระบบเราสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ Implementer และ Supporter จะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับระบบที่สุด เมื่อระบบถูกนำไปใช้งานแล้ว เมื่อมีกรณีที่ระบบมีปัญหา ตำแหน่งนี้ก็จะต้องเป็นผู้ที่ตรวจสอบระบบเบื้องต้น สรุปปัญหาและแจ้งกลับไปยัง Developer 

ดังนี้ผู้ที่จะสามารถรับผิดชอบในตำแหน่งนี้ได้ดี จำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี ต้องเป็นผู้ที่สามารถเขียนสรุปใจความได้ชัดเจน และสามารถประสานงานกับลูกค้า คนในทีม และพาร์ทเนอร์ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศได้ 

งานของเราส่วนใหญ่เป็นระบบงานของธนาคาร ที่ต้องการความปลอดภัยสูง ระบบของเราจึงมักจะถูกติดตั้งที่ธนาคาร ทำให้พนักงานในตำแหน่งนี้อาจจะต้องประจำตามแต่ละธนาคารที่ตนเองรับผิดชอบและต้องมีความรับผิดชอบในตัวเองสูง ต้องสามารถติดตั้ง และ Set up ระบบได้ด้วยตนเอง มีความเข้าใจใน Configuration สามารถเขียน Coding อย่างง่ายเพื่อใช้ในจัดทำ Script ในการติดตั้งระบบได้ หรือเรียกดู Log เมื่อต้องการตรวจสอบการทำงานของระบบ

Junior Implementer and Supporter

Junior Implementor เป็นตำแหน่งเริ่มต้นของผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านการประสานงาน และมีความรู้ในด้านการเขียน Script ขั้นพื้นฐาน เข้าใจการทำงานของระบบ และมีความใส่ใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย

  • มีทักษะการจับใจความ และสามารถสื่อสารได้ดี เนื่องจากตำแหน่งนี้ต้องปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าเสมอ 

  • เข้าใจการทำงานของระบบ และสามารถเรียกดูและอ่าน Log เพื่อประเมินสถานการณ์เบื้องต้นได้ สามารถแยกแยะระดับความเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถประสานงานต่อไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทันที

  • มีความใส่ใจและรอบคอบ เนื่องจากตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่จะต้องขึ้นระบบและเป็นด่านแรกในการทดสอบคุณภาพของงานที่นำส่ง โดยหากไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ จะทำให้ไม่สามารถมั่นใจในคุณภาพของงานได้ และอาจจะก่อให้เกิดปัญหาจากการทดสอบไม่ครบถ้วนในภายหลัง

Implementer and Supporter

Implementer and Supporter เป็นตำแหน่งที่ขยับขึ้นจาก Junior Implementer and Supporter โดยมีความแตกต่างที่ขอบเขตความรับผิดชอบที่ต้องรับผิดชอบระบบที่หลากหลายมากขึ้น เป็นผู้ที่ต้องสามารถให้ความสำคัญกับหลายโปรเจคพร้อมๆกันได้ และต้องมีความเชี่ยวชาญในด้าน Programming ในกรณีที่ต้องนำขึ้นระบบหรือตรวจสอบระบบเมื่อเกิดปัญหา ต้องสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง สามารถรับผิดชอบงานได้จบในคนเดียว

Product Manager / Business Development

PM

PM เป็นตำแหน่งที่ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานกับผู้อื่นอย่างเชี่ยวชาญ ทั้งในด้านการบริหารจัดการทีมและการบริหารความคาดหวังจากลูกค้า สามารถดูแลภาพรวมของ Product ที่ตนเองดูแล และสามารถตัดสินใจเลือกวางแผนงานและแก้ไขปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเองบนพื้นฐานหลักการ Mission และ Vision ของบริษัท

  • ​เข้าใจการทำงานของระบบทั้งหมดภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่ตนเองดูแล สามารถให้คำแนะนำกรณีเกิดปัญหา หรือมีคำถามจากลูกค้าหรือคนในทีมได้ทันที

  • เข้าใจกลไกตลาด คู่แข่ง วัตถุประสงค์ จุดเด่นและจุดด้อยของ Product ที่ตนเองดูแล สามารถวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ เพื่อจัดลำดับความสำคัญและวาง Road Map ระยะยาวของ Product ได้ด้วยตนเอง เช่น การตรวจสอบตลาดเพื่อกำหนด Pricing ของ Product ตนเอง

  • สามารถมองเห็นพฤติกรรมที่สิ่งที่ดี และที่ควรปรับปรุงของทีม สามารถเสนอแนะแนวทางที่ควรจัดการ และดำเนินการเปลี่ยนแปลงตาม Mission และ Vision ของบริษัท เพื่อสร้างคุณสมบัติที่เหมาะสมของพนักงาน

  • มีความน่าเชื่อถือ สามารถโน้มน้าวลูกค้าและเป็นที่พึ่งของคนในทีมได้

  • ต้องรีวิวและอนุมัติงานของคนในทีมได้ สามารถตัดสินใจและพร้อมที่จะรับผิดชอบสิ่งที่ตนเองตัดสินใจได้ด้วยตนเอง หรือแยกแยะความสำคัญของเรื่องที่ต้องตัดสินใจ กรณีเป็นเรื่องสำคัญจึงค่อยเสนอเรื่องกับ Product Manager Specialist ต่อไป

  • มองหาช่องทางในการทำงานใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อใช้ช่องทางนั้นๆ ในการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น สามารถใช้งาน Platform สำเร็จรูป ทดแทนการใช้ Developer เพื่อพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา 

  • สามารถทำความเข้าใจโจทย์ และ ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และเสนอแนะแนวทางการทำงานกับบุคคลภายนอกได้ บนพื้นฐานของการ Reuse Product ตนเอง เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้กับลูกค้า และสามารถ assumtion เพื่อประเมินขอบเขตงานเบื้องต้นให้กับลูกค้าได้ทันที

  • มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพผู้อื่น

Product Manager Specialist

Product Manager Specialist เป็นผู้ที่ต้องมีประสบการณ์ในด้านการจัดการ และพัฒนา Product ไม่ต่ำกว่า 7 ปี โดยสามารถดูแลภาพรวมของ Product ทั้งบริษัท และบริหารทรัพยากร ทั้งในด้านของบุคคลากร การดำเนินธุรกิจ และโมเดลรายได้โดยรวมของบริษัทได้เป็นอย่างดี 

  • มีทักษะการเจรจา การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี สามารถโน้มน้าวและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่ทำงานด้วย

  • สามารถคิด วิเคราะห์ ถึงเหตุและผลในแต่ละสถานการณ์ได้ถี่ถ้วน มีความละเอียดรอบคอบ และเข้าใจที่มาที่ไปของบริบทต่างๆ

  • สามารถสร้างพลังให้กับทีมด้วยทัศนคติที่เป็นบวก เพื่อให้ทีมสามารถพัฒนาไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • สามารถสร้างคนให้เก่ง เป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ทำงานด้วย โดยสามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และทำตัวอย่างให้เป็นต้นแบบกับผู้อื่นได้

  • สามารถบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลากรได้ โดยเข้าใจลักษณะนิสัยและความสามารถของแต่ละบุคคล สามารถมอบหมายงานที่ตรงกับเป้าหมายและความเชี่ยวชาญของผู้นั้นๆได้ 

  • กำหนดเป้าหมาย และสร้างงานให้กับคนในบริษัทได้ตรงตาม Mission และ Vision ของบริษัท

  • ติดตามเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของตลาดและเทคโนโลยี สามารถ Keep Update ความรอบรู้ของตนเองตลอดเวลา

  • มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพผู้อื่น 

bottom of page