ทำงานในบริษัทมีตำแหน่งและความก้าวหน้าในการการทำงานอย่างไรบ้าง? เป็นคำถามที่มักจะได้ยิน feedback จากน้อง ๆ ตอน 1-1 อยู่บ่อย แล้วการที่พนักงานจะมีความก้าวหน้าในอาชีพและตำแหน่งที่ทำในองค์กรนั้นเกิดจากอะไร?
หากเราพอใจที่จะให้บริษัททำงานเหมือนเดิม ทำเท่าเดิม มีรายได้เท่าเดิม แปลว่าเราจะต้องควบคุมต้นทุนให้เท่าเดิม พนักงานอาจจะไม่มีเงินเดือนเพิ่มในที่สุดพนักงานก็จะลาออกหางานใหม่ ที่เงินเดือนมากกว่าเดิม ฉะนั้น หากเราต้องการสร้างบริษัทให้เติบโตขึ้น เพื่อจะได้สร้างโอกาสให้พนักงานมี Career Path ที่ก้าวหน้า ทางเดียวที่จะทำได้คือทำให้บริษัทเติบโต
เมื่อบริษัทเติบโตขึ้น มีรายได้มากขึ้น กำไรมากขึ้น หน้าที่ ความรับผิดชอบของพนักงานทุกคนก็จะมากขึ้นพร้อม ๆ กับผลตอบแทนที่จะต้องเติบโตสอดคล้องกันไปเช่นกัน
Job Titles
เรามีหลักเกณฑ์ในการประเมิณพนักงานที่ทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ แต่ละคนว่าจัดอยู่ใน Level ใดของตำแหน่งนั้นๆ โดยเกณฑ์ที่อยู่ข้างล่างนี้ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดและไม่ได้เป็นรายการตรวจสอบที่แน่นอน แต่เป็นเพียงแค่แนวทางในการพัฒนาตัวเองของพนักงานในแต่ละตำแหน่งเท่านั้น
โดยเกณฑ์ทั้งหมดเป็นเพียงตัวอธิบายลักษณะงาน, ความสามารถ และความรับผิดชอบของตำแหน่งในแต่ละ Level เพื่อให้น้องๆตรวจสอบตัวเองว่าน้องๆนั้นเหมาะสมที่จะอยู่ Level ใด เนื่องจาก Level ต่างๆจะส่งผลที่ผลตอบแทนและความรับผิดชอบที่น้องๆจะได้รับมากขึ้นตามแต่ละ Level
หากใครอ่านแล้วคิดว่าตำแหน่งที่ตัวเองอยากทำไม่มีในนี้ก็อย่างเพิ่งตกใจ หรือน้อยใจไป ทีมอาจจะเขียนได้ไม่ครบทุก ๆ ตำแหน่ง หรือหากว่าใครคิดว่าตำแหน่งที่บริษัทมีไม่ตรงกับสิ่งที่อยากทำ ลองมาคุยกัน เดี๋ยวเราช่วยกันสร้างตำแหน่งใหม่ ๆ ให้ :)
ตำแหน่งงานในบริษัทดิจิโอทั้งหมด
Pay & Promotion
บริษัทมีขั้นตอนพิจารณาปรับเงินเดือนและโบนัสสำหรับพนักงานที่เริ่มทำงานไม่น้อยกว่าวันที่ 1 เดือนมิถุนายนของปีที่ผ่านมา ปีละ 1 ครั้งในเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งจะจ่ายรวมถึงส่วนต่างย้อนหลังของเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ โดยโบนัสจะขึ้นอยู่กับผลกำไรของบริษัทในแต่ละปี ผลประกอบการและประสิทธิภาพการทำงานของทีมและพนักงานแต่ละคน
ในช่วงต้นปี บริษัทจะมีการทำประเมินการทำงานของปีที่ผ่านมา (Performance Feedback) และตั้งเป้าหมายของปีปัจจุบันร่วมกันกับพนักงานแต่ละคน รวมถึงการพูดคุยและรับฟัง Feedback การทำงานในมุมมองของทั้งสองฝ่าย
เราแนะนำว่าหากในระหว่างการทำงานมีข้อคำถามเกี่ยวกับค่าตอบแทน เช่น ต้องการค่าตอบแทนที่สูงขึ้นจะต้องรับผิดชอบงานเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง หรือคิดว่างานที่รับผิดชอบอยู่ในควรได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ทุกคนสามารถติดต่อพูดคุยกับหัวหน้างานได้ เพื่อทำความเข้าใจ และหาทางออกให้กับทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม
Mobile Developer / Full Stack Developer
Junior Developer
มีพื้นฐานในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะปัญหาที่ดี (Logical and Critical Thinking)
มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบเป็นอย่างดี (Basic OOP, Data Structure, Database Design, Basic Network and Security)
มีความเชี่ยวชาญ สามารถใช้ภาษาในการพัฒนาโปรแกรมได้ดี (Basic language and framework are mastered)
สามารถใช้คำสั่งพื้นฐานของ Command Line ได้คล่องแคล่ว (Linux command, Powershell, Scripting, etc)
พัฒนาและแก้ไขปัญหาตามขอบเขตและเวลาที่กำหนดไว้จากทีมงาน
มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับหมอบหมาย
ยังจำเป็นให้มีคนมา Review Code ที่ตนเองเขียน (Coding Quality)
มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน 1-3 ปี
Developer
เชี่ยวชาญการใช้ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในระดับพื้นฐานและในระดับสูง
สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาซอฟต์แวร์ตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี
สามารถสื่อสารกับทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม
ให้คำปรึกษาพร้อมแนวทางการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาให้ junior และ developer ได้ (Knowledge Sharing)
สามารถออกแบบระบบที่มีความซับซ้อนในระดับพื้นฐานถึงกลางได้ (Database Design, Application Architecture, Design Pattern Approach)
มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างน้อย 2-5 ปี
Senior Developer
สามารถรับผิดชอบงานด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องมีคนดูแล (Manager of one)
ให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหา ดูแลทีมงานได้ (Mentoring)
มีความเข้าใจในรายละเอียดของระบบที่พัฒนาและรับผิดชอบได้เป็นอย่างดี
สามารถทำให้แนวคิด ไอเดีย โปรดักส์/บริการ ที่จะทำ กลายเป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้จริง ตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วยตนเองได้
มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถในเชิงลึกของภาษาและ Framework ที่ใช้ในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ภาษา มีความรู้พื้นฐานพัฒนาซอฟต์แวร์มากกว่า 2 ภาษา และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
มีความรู้ ความสามารถพื้นฐานของภาษาพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่น้อยกว่า 2 platforms
มีประสบการณ์ทำงานเฉพาะทางในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างน้อย 6-9 ปี
Lead Developer
ดูแลและจัดการทีมที่มีขนาดขนาดกลางหรือใหญ่ให้บรรลุเป้าหมายได้ (Executive/Manager)
กำหนดและรักษามาตรฐานในการทำงานของทีม และบริษัทดิจิโอได้
สามารถควบคุมการพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อนได้มากกว่า 2-3 โครงการพร้อมกัน
มีทักษะในการสื่อสารกับคนในองค์กรและลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม
พัฒนากระบวนการ วิธีการต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์และปรับปรุงระบบเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป
Quality Assurance (QA)
QA คือ คนที่จะทำงานร่วมกับทีมเพื่อคำนึงคุณภาพของงานตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการพัฒนา ช่วยกันตรวจสอบและหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด รวมถึงนำเสนอเครื่องมือหรือกระบวนการต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อการเพิ่มคุณภาพของงาน สำหรับเราแล้ว QA คือคนสำคัญคนหนึ่งในทุกขั้นตอนของการส่งมอบงานที่เราพัฒนาขึ้นให้แก่ลูกค้า เช่น
Requirement Analysis
เข้าใจระบบงาน ความต้องการ และวัตถุประสงค์ของฟีเจอร์กำลังพัฒนา
ร่วมกำหนด Acceptance Criteria
System Design
หาช่องโหว่/ข้อผิดพลาด ตั้งแต่ช่องโหว่/ข้อผิดพลาดยังไม่เกิด เพื่อป้องกัน
ร่วมออกแบบระบบว่าควรคำนึงถึงการใช้งานในรูปแบบใดบ้าง
Development
ร่วมมือกับทีมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ทดสอบให้มั่นใจได้ว่าระบบทำงานได้ตาม Acceptance Criteria
ร่วมนำเสนอฟีเจอร์ / สิ่งที่แก้ไขไปให้กับลูกค้า รวมไปถึงแนะนำการใช้งานหรือแก้ปัญหาเบื้องต้น
Deployment
เข้าใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแก้ไข และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อหาวิธีป้องกัน
ทดสอบให้มั่นใจได้ว่าสิ่งที่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขนี้ ทำงานตรงตามความต้องการ
ร่วมมือกับทีมในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
จัดทำคู่มือหรือคำแนะนำการใช้งาน
Junior Quality Assurance
เข้าใจในพื้นฐานกระบวนการการควบคุมคุณภาพของซอฟต์แวร์
เข้าใจการทำงานของระบบงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ทั้งเชิงการใช้งาน และเชิงเทคนิคเบื้องต้น
สามารถทำการทดสอบระบบงาน วิเคราะห์ และจัดทำสรุปรายงานการทดสอบระบบได้ (Trouble Shooting, Reproducing, Reporting)
มีความเข้าใจพื้นฐานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Basic computer programming, SQL, Database, Web Service)
ทักษะการใช้ Excel ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง
Quality Assurance
มีทักษะในการทำการทดสอบในรูปแบบต่างๆ เช่น การทดสอบประสิทธิภาพในการรองรับผู้ใช้งาน (Performance Testing) การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องแบบอัตโนมัติ (Automate Test) เป็นต้น
หาเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทีม เช่น นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสร้างรายงาน (SQL, Logging, Debugging, Reporting)
เข้าใจในระบบงานที่รับผิดชอบ ประเมินผลกระทบได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข (Change Management)
แนะนำการใช้งาน การแก้ปัญหาแก่ลูกค้าได้
เมื่อเกิดปัญหา สามารถตรวจสอบและระบุหาสาเหตุของปัญหาได้
Senior QA
ถ่ายทอดทักษะต่างๆ ในด้านการควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์ให้กับทีม
สร้างมาตรฐาน รูปแบบการทำงาน รวมถึงเครื่องมือต่างๆ อย่างเหมาะสม ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับทีม
มีความเข้าใจในระบบงานโดยละเอียด สามารถนำเสนอโซลูชั่นหรือแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ ได้
Full Stack Designer
เนื่องจากบริษัทดิจิโอ เป็นบริษัทที่เน้นเรื่องการทำ Turnkey Solution หรือการนำเสนอกระบวนการทำงานแบบ end to end ให้กับลูกค้า และเรายึดถือหลักการการเติบโตไปพร้อมกับลูกค้าของเรา ดังนั้นผู้ที่จะเข้ามามีบทบาทในการออกแบบทุกอย่างของโครงการ จะต้องสามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้า และการทำงานขององค์กรได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถผลิตงานออกแบบเพื่อสื่อสารได้ครอบคลุมในทุกๆด้าน โดยมุ่งเน้นไปในเรื่องการใช้งานมีประสิทธิภาพเป็นหลัก แล้วจึงออกแบบเรื่องความสวยงานตามมา (Forms Follow Function)
โดย Designer ของบริษัทดิจิโอ ควรมีความสามารถในการสื่อสารและออกแบบได้ทั้งบนงานสื่อ 2D และออกแบบระบบที่ต้องมีผู้ใช้งานเข้ามา interact (User Interface) มีรสนิยมที่ดี เป็นผู้ที่ศึกษาหรือตามกระแสการออกแบบอยู่เสมอ
Full Stack Designer มีขอบเขตการทำงานในแต่ละขั้นดังนี้
Junior Designer
Junior Designer เป็นตำแหน่งขั้นแรกสุดของสายงานนี้ โดยเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานในสายการออกแบบ 1-3 ปี สามารถแยกแยะผลงานที่ดีและยังมีข้อบกพร่องได้ ทั้งในเรื่องการใช้งานและความสวยงาม
มีขอบเขตความคาดหวังดังนี้
สามารถฟัง ดู และสรุปประเด็นความต้องการของผู้ใช้งานได้ ต้องสามารถสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจด้วย การ visualise ได้
เข้าใจพื้นฐานการทำงานของแอพพลิเคชั่นและโปรแกรมต่างๆเป็นอย่างดี สามารถนำความรู้ที่มีต่อยอดในการออกแบบ UX/UI ได้
คุ้นเคย Tools ที่ใช้ในการทำ User Experience Design เช่น การทำ User Analyst, การทำ User Journey และการทำ Persona
สามารถสื่อสารใจความสำคัญผ่านออกแบบงานกราฟฟิคเบื้องด้น ด้วยโปรแกรม AI และ PS ได้
เข้าใจการเขียน HTML/CSS เบื้องต้น เพื่อนำมาออกแบบเป็น Wireframe และ User Interface ผ่านเครื่องมือ Figma หรือ Sketch ได้ดี
มีทักษะการเล่าเรื่องที่ดี (Story Telling) เช่น สามารถคิดเนื้อหา และออกแบบไฟล์นำเสนอได้ด้วยเครื่องมือ Power Point หรือ Keynote
สามารถออกแบบตาม guildeline ที่บริษัทกำหนดได้อย่างถูกต้อง
Designer
Designer เป็นลำดับขั้นถัดมา โดยต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานและเข้าใจในเนื้อหาความรับผิดชอบของตนเอง สามารถเป็นผู้ริเริ่มและมอบหมายงานให้ตนเอง จากการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เข้าใจและสามารถแยกแยะงานออกแบบที่ดีได้
มีขอบเขตงานดังนี้
สามารถดำเนินการเก็บ Requirement ของลูกค้า วิเคราะห์และสรุปงานได้ด้วยตนเอง
เป็นผู้กำหนดทิศทาง หรือ guildeline ของงานออกแบบของบริษัท เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำไปทำงานต่อได้
เป็นผู้นำในการศึกษาเทคโนโลยี หรือช่องทางใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
กรณีมีโจทย์ที่ต้องสร้างระบบที่ไม่ซับซ้อน Designer ต้องสามารถเลือกใช้เครื่องมือ หรือ Platform สำเร็จรูปที่มีอยู่ เพื่อ deliver งานนั้นๆให้ได้
เข้าใจหลักการการเขียน Code สามารถแก้ไขงาน Frontend ได้ในเบื้องต้น
Senior Designer
Senior Designer คือผู้ที่ต้องรับผิดชอบการทำงานของตนเอง และต้องสามารถตรวจรับงานของผู้อื่นได้ ต้องมีรสนิยมในการออกแบบที่ดี สามารถกำหนดทิศทาง Key Messege โดยรวมของบริษัทได้ และต้องมีความรู้ในเรื่องการ Coding สามารถทำงานไปด้วยกันกับ Developer ได้เป็นอย่างดี
มีขอบเขตการทำงานดังนี้
สามารถรับผิดชอบงานให้สำเร็จด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องมีคนดูแล
มองเห็นภาพกว้างของบริษัท และเข้าใจ product ทั้งหมด เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทาง Key Messege ให้กับบริษัทได้
เชี่ยวชาญในการเขียน HTML /CSS และศึกษาการเขียนใหม่ๆอยู่เสมอ สามารถออกแบบและ Deliver งานได้ด้วยตัวคนเดียว
สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับ Designer อื่นๆในบริษัท สามารถ share และสร้างหลักการการออกแบบที่ดีให้กับผู้อื่นได้
Implementer and Supporter
Implementer and Supporter เป็นตำแหน่งที่เป็นผู้ที่ทำงานให้สมบูรณ์ เป็นผู้ที่รับช่วงต่อจาก Developer เพื่อนำงานนั้นๆมา Deploy และต้องทดสอบระบบเพื่อยืนยันว่าระบบเราสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ Implementer และ Supporter จะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับระบบที่สุด เมื่อระบบถูกนำไปใช้งานแล้ว เมื่อมีกรณีที่ระบบมีปัญหา ตำแหน่งนี้ก็จะต้องเป็นผู้ที่ตรวจสอบระบบเบื้องต้น สรุปปัญหาและแจ้งกลับไปยัง Developer
ดังนี้ผู้ที่จะสามารถรับผิดชอบในตำแหน่งนี้ได้ดี จำเป็นต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี ต้องเป็นผู้ที่สามารถเขียนสรุปใจความได้ชัดเจน และสามารถประสานงานกับลูกค้า คนในทีม และพาร์ทเนอร์ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศได้
เนื่องจากงานของเราส่วนใหญ่เป็นระบบงานของธนาคาร ที่ต้องการความปลอดภัยสูง ระบบของเราจึงมักจะถูกติดตั้งที่ธนาคาร ทำให้พนักงานในตำแหน่งนี้อาจจะต้องประจำตามแต่ละธนาคารที่ตนเองรับผิดชอบและต้องมีความรับผิดชอบในตัวเองสูง ต้องสามารถติดตั้ง และ set up ระบบได้ด้วยตนเอง มีความเข้าใจใน configuration สามารถเขียน Coding อย่างง่ายเพื่อใช้ในจัดทำ script ในการติดตั้งระบบได้ หรือเรียกดู Log เมื่อต้องการตรวจสอบการทำงานของระบบ
ตำแหน่งนี้มีลำดับขั้นดังนี้
Junior Implementer and Supporter
Junior Implementor เป็นตำแหน่งเริ่มต้นของผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านการประสานงาน และมีความรู้ในด้านการเขียน script ขั้นพื้นฐาน เข้าใจการทำงานของระบบ และมีความใส่ใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย
มีขอบเขตการทำงานดังนี้
มีทักษะการจับใจความ และสามารถสื่อสารได้ดี เนื่องจากตำแหน่งนี้ต้องปฎิสัมพันธ์กับลูกค้าเสมอ
เข้าใจการทำงานของระบบ และสามารถเรียกดูและอ่าน Log เพื่อประเมินสถานการณ์เบื้องต้นได้ สามารถแยกแยะระดับความเร่งด่วนของปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถประสานงานต่อไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทันที
มีความใส่ใจและรอบคอบ เนื่องจากตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่จะต้องขึ้นระบบและเป็นด่านแรกในการทดสอบคุณภาพของงานที่นำส่ง โดยหากไม่มีคุณสมบัติในข้อนี้ จะทำให้ไม่สามารถมั่นใจในคุณภาพของงานได้ และอาจจะก่อให้เกิดปัญหาจากการทดสอบไม่ครบถ้วนในภายหลัง
Implementer and Supporter
Implementer and Supporter เป็นตำแหน่งที่ขยับขึ้นจาก Junior Implementer and Supporter โดยมีความแตกต่างที่ขอบเขตความรับผิดชอบที่ต้องรับผิดชอบระบบที่หลากหลายมากขึ้น เป็นผู้ที่ต้องสามารถให้ความสำคัญกับหลายโปรเจคพร้อมๆกันได้ และต้องมีความเชี่ยวชาญในด้าน Programming ในกรณีที่ต้องนำขึ้นระบบหรือตรวจสอบระบบเมื่อเกิดปัญหา ต้องสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง สามารถรับผิดชอบงานได้จบในคนเดียว
Product Manager / Business Development
PM เป็นตำแหน่งที่ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานกับผู้อื่นอย่างเชี่ยวชาญ ทั้งในด้านการบริหารจัดการทีมและการบริหารความคาดหวังจากลูกค้า สามารถดูแลภาพรวมของ Product ที่ตนเองดูแล และสามารถตัดสินใจเลือกวางแผนงานและแก้ไขปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเองบนพื้นฐานหลักการ Mission และ Vision ของบริษัท
เข้าใจการทำงานของระบบทั้งหมดภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่ตนเองดูแล สามารถให้คำแนะนำกรณีเกิดปัญหา หรือมีคำถามจากลูกค้าหรือคนในทีมได้ทันที
เข้าใจกลไกตลาด คู่แข่ง วัตถุประสงค์ จุดเด่นและจุดด้อยของ Product ที่ตนเองดูแล สามารถวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ เพื่อจัดลำดับความสำคัญและวาง Road Map ระยะยาวของ Product ได้ด้วยตนเอง เช่น การตรวจสอบตลาดเพื่อกำหนด Pricing ของ Product ตนเอง
สามารถมองเห็นพฤติกรรมที่สิ่งที่ดี และที่ควรปรับปรุงของทีม สามารถเสนอแนะแนวทางที่ควรจัดการ และดำเนินการเปลี่ยนแปลงตาม Mission และ Vision ของบริษัท เพื่อสร้างคุณสมบัติที่เหมาะสมของพนักงาน
มีความน่าเชื่อถือ สามารถโน้มน้าวลูกค้าและเป็นที่พึ่งของคนในทีมได้
ต้องรีวิวและอนุมัติงานของคนในทีมได้ สามารถตัดสินใจและพร้อมที่จะรับผิดชอบสิ่งที่ตนเองตัดสินใจได้ด้วยตนเอง หรือแยกแยะความสำคัญของเรื่องที่ต้องตัดสินใจ กรณีเป็นเรื่องสำคัญจึงค่อยเสนอเรื่องกับ Product Manager Specialist ต่อไป
มองหาช่องทางในการทำงานใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อใช้ช่องทางนั้นๆ ในการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น สามารถใช้งาน Platform สำเร็จรูป ทดแทนการใช้ developer เพื่อพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา
สามารถทำความเข้าใจโจทย์ และ ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และเสนอแนะแนวทางการทำงานกับบุคคลภายนอกได้ บนพื้นฐานของการ reuse Product ตนเอง เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้กับลูกค้า และสามารถ assumtion เพื่อประเมินขอบเขตงานเบื้องต้นให้กับลูกค้าได้ทันที
มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพผู้อื่น
Product Manager Specialist
Product Manager Specialist เป็นผู้ที่ต้องมีประสบการณ์ในด้านการจัดการ และพัฒนา Product ไม่ต่ำกว่า 7 ปี โดยสามารถดูแลภาพรวมของ Product ทั้งบริษัท และบริหารทรัพยากร ทั้งในด้านของบุคคลากร การดำเนินธุรกิจ และโมเดลรายได้โดยรวมของบริษัทได้เป็นอย่างดี
ขอบเขตการทำงานมีดังนี้
มีทักษะการเจรจา การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี สามารถโน้มน้าวและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่ทำงานด้วย
สามารถคิด วิเคราะห์ ถึงเหตุและผลในแต่ละสถานการณ์ได้ถี่ถ้วน มีความละเอียดรอบคอบ และเข้าใจที่มาที่ไปของบริบทต่างๆ
สามารถสร้างพลังให้กับทีมด้วยทัศนคติที่เป็นบวก เพื่อให้ทีมสามารถพัฒนาไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถสร้างคนให้เก่ง เป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ทำงานด้วย โดยสามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และทำตัวอย่างให้เป็นต้นแบบกับผู้อื่นได้
สามารถบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลากรได้ โดยเข้าใจลักษณะนิสัยและความสามารถของแต่ละบุคคล สามารถมอบหมายงานที่ตรงกับเป้าหมายและความเชี่ยวชาญของผู้นั้นๆได้
กำหนดเป้าหมาย และสร้างงานให้กับคนในบริษัทได้ตรงตาม Mission และ Vision ของบริษัท
ติดตามเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของตลาดและเทคโนโลยี สามารถ Keep Update ความรอบรู้ของตนเองตลอดเวลา
มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพผู้อื่น
ff
xxxxxx