Working Hours
เรามีระเบียบปฏิบัติงานในที่ทำงานทั้งในบริษัท และการทำงานนอกสถานที่ โดยเวลาทำงานตามปกติของเราคือ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 9:00 น. - 18:00 น.
กรณีชดเชยเวลาเข้างาน
เรายืดหยุ่นให้สามารถเข้างานไม่เกิน 10:00 น. แต่จะต้องไม่กระทบกับงานที่รับผิดชอบหรือนัดหมายต่างๆ และชดเชยเวลาทำงานเป็น 8 ชั่วโมง คือ 10:00 น.- 19:00 น. โดยกำหนดให้ชดเชยสายได้ถึง 19:00 น. เท่านั้น
ตัวอย่างช่วงเวลาเข้างาน
9:00 น. - 18:00 น.
9:30 น. - 18:30 น.
10:00 น. - 19:00 น.
กรณีพนักงานมีเหตุทำให้จำเป็นต้องเข้างานสายมาก
เช่น คืนก่อนหน้ามีความจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาดึกมาก เพื่อรับผิดชอบงานที่ต้องส่งมอบอย่างเร่งด่วน ทำให้ในต้องเข้างานเวลาสายมาก เราขอขอบคุณในความรับผิดชอบนี้ และอยากให้พนักงานได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเหมาะสม เราขอแนะนำให้เขียนสรุปแจ้งทีม หัวหน้างาน รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทุกคน เพื่อสื่อสารถึงเนื้องานที่ได้ทำส่งมอบไป และแจ้งเวลาที่จะเข้างานของวันถัดไป
สำหรับเราแล้ว Working Hours ถูกตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ และความรับผิดชอบเสมอ
วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
วันหยุดประจาสัปดาห์ บริษัทฯ กำหนดวันหยุดประจาสัปดาห์ 2 วัน คือ วันเสาร์และวันอาทิตย์
วันหยุดนักขัตฤกษ์ บริษัทฯ กำหนดวันหยุดตามประเพณีในแต่ละปีให้ไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยยึดตามปฏิทินวันหยุดของธนาคารแห่งประเทศไทย พนักงานจะได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทางานปกติ และบริษัทฯ จะประกาศวันหยุดตามประเพณีให้ทราบก่อนวันที่ 1 มกราคม ของแต่ละปี
วันลาประเภทต่าง ๆ
บริษัทกำหนดประเภทวันลาต่าง ๆไว้ ดังนี้
วันลาหยุดพักผ่อนประจำปี 10 วันต่อปีปฏิทิน
ลากิจ 5 วันต่อปีปฏิทิน
ลาป่วย ลาได้ตามที่ป่วยจริง บริษัทจ่ายค่าจ้างวันที่ลาป่วยไม่เกิน 30 วัน
ลาคลอดบุตร 90 วัน บริษัทจ่ายค่าจ้าง 45 วัน หลังจากนั้นอีก 45 วัน ไม่ได้รับค่าจ้าง
1. วันลาหยุดพักผ่อนประจำปี
พนักงานประจำมีวันหยุดพักผ่อนประจำปี 10 วัน ต่อปีปฏิทิน ( 1 มกราคม – 31 ธันวาคม)
สามารถใช้สิทธ์ิวันหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อผ่านการทดลองงานแล้ว
หากทำงานไม่ครบปี จะคำนวณสิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามสัดส่วนโดยคิดตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงาน
วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินหรือนำไปสมทบเพื่อใช้ในปีถัดไปได้
บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธคำขอ หรือขอพนักงานให้มาปฏิบัติงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีเนื่องจากความจำเป็นและ/หรือเพราะความเร่งด่วนของงาน หรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่จะให้ใช้สิทธิ์ลาพักผ่อนประจำปีได้ในวันถัดไป และ/หรือแล้วแต่ตกลงระหว่างพนักงานและหัวหน้างาน
ขั้นตอนการใช้สิทธิ์ พนักงานต้องแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน ก่อนวันที่หยุดพักผ่อนประจำปีทาง Basecamp แก่หัวหน้างาน ผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานด้วย และ ฝ่ายบุคคล เพื่อทำการบันทึกและต้องได้รับอนุมัติก่อน
2. ลากิจ
เพื่อให้พนักงานสามารถลาไปติดต่อหน่วยงานราชการที่ให้บริการในเวลาทำการ หรือเพื่อจัดการธุระ
ส่วนตัวที่สาคัญ เช่น การติดต่อหน่วยงานราชการ, การเข้ารับปริญญาบัตรของตนเอง
พนักงานประจำ, พนักงานสัญญาจ้าง, นักศึกษาศึกงาน มีวันลากิจ 5 วัน ต่อปีปฏิทิน (1 มกราคม – 31 ธันวาคม)
สามารถใช้สิทธิ์วันลากิจได้ตั้งแต่วันแรกของการเป็นพนักงานบริษัท
วันลากิจที่ไม่ได้ใช้ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินหรือนำไปสมทบเพื่อใช้ในปีถัดไปได้
ขั้นตอนการใช้สิทธิ์ พนักงานต้องแจ้งความประสงค์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันที่ใช้ลากิจทาง Basecamp แก่หัวหน้างาน ผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานด้วย และ ฝ่ายบุคคล เพื่อทำการบันทึกและต้องได้รับอนุมัติก่อน
3. ลาป่วย
เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วย และ/หรือประสบ
อุบัติเหตุ
มีสิทธิ์ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และบริษัทจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ลาป่วยไม่เกิน 30 วัน
พนักงานจะมีสิทธิ์ลาป่วยได้ตั้งแต่วันแรกของการเป็นพนักงานบริษัท
ลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป พนักงานต้องแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ ในวันที่กลับมาทำงานปกติ
หากลาป่วยโดยขาดการแจ้ง และ/หรือบอกกล่าว จะถือว่าพนักงานขาดงาน พนักงานจะไม่ได้รับเงินค่าจ้างและสวัสดิการอื่น ๆ ในวันนั้น ๆ และถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎของบริษัท
ขั้นตอนการใช้สิทธิ์ พนักงานต้องแจ้งให้หัวหน้างาน ผู้เกี่ยวข้องที่ทำงานด้วย และฝ่ายบุคคลทราบก่อนเวลา 09:00 น. ของวันที่ลาป่วย หรือโดยเร็วที่สุด เพื่อทำการบันทึกข้อมูล หากพนักงานเจ็บป่วย/ประสบอุบัติเหตุรุนแรง ควรแจ้งหัวหน้างานทราบทันที
4. ลาคลอดบุตร
เพื่อให้พนักงานหญิงมีเวลาดูแลบุตรที่คลอด หรือเตรียมตัวก่อนคลอดบุตร
พนักงานสามารถลาคลอดบุตรได้สูงสุด โดยได้รับค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ จากบริษัท จำนวน 45วัน โดย 45 วันหลังจากนั้น สามารถลาคลอดบุตรได้ แต่จะไม่ได้รับเงินค่าจ้าง ในส่วนของสวัสดิการต่างๆ จากบริษัทยังคงได้รับตามปกติ
พนักงานหญิงทุกท่าน มีสิทธิ์ลาคลอดบุตรตั้งแต่วันแรกของการเป็นพนักงาน เมื่อทราบว่าตนกำลังตั้งครรภ์ให้แจ้งหัวหน้างานและฝ่ายบุคคลให้ทราบโดยเร็วที่สุด
เมื่อคุณหมอแจ้งกาหนดการคลอดบุตร ให้พนักงานแจ้งให้หัวหน้างานและฝ่ายบุคคลทราบ
พนักงานสามารถใช้วันลาคลอดบุตรเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการให้กำเนิดบุตรได้
การใช้สิทธิ์วันลาคลอดบุตรต้องได้รับการอนุมัติจากผู้จัดการและแจ้งให้ฝ่ายบุคคลทราบ
ถ้าหากพนักงานใช้สิทธิ์การลาในประเภทนั้น ๆ เกินจำนวนวันที่กำหนดไว้ข้างต้น จะต้องผ่านการพิจารณาจากหัวหน้างานว่ามีเหตุสมควรหรือไม่อย่างไร ซึ่งอาจจะมีการนำจำนวนวันลาประเภทนั้น ๆ ของปี ถัดไปมาใช้ล่วงหน้าหรือแนวทางปฏิบัติอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหัวหน้างานและฝ่ายบุคคล
ความรับผิดชอบล่วงเวลา
บริษัทดิจิโอ เราเป็นบริษัทที่ต้องทำงานบนพื้นฐานความรับผิดชอบที่สูง ด้วยในเรื่องการทำระบบสำหรับกลุ่มลูกค้าที่เป็น mass ที่ต้องใช้งานระบบตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ และเป็นงานเกี่ยวกับการเงินที่มีความละเอียดอ่อนและต้องการความปลอดภัย ดังนั้นเราที่ต้องดูแลและรับผิดชอบระบบที่มีความสำคัญ ก็อาจจะต้องมีการ support หรือดูแลระบบนอกเวลางานเป็นปกติ ดังนั้นโดยพื้นฐานแล้วเราจะไม่มีการจ่าย OT ให้กับพนักงาน ด้วยความรับผิดชอบที่พนักงานต้องมี จะถูกรวมในเงินเดือนที่พนักงานคนนั้นๆ ได้รับอยู่แล้ว
ส่วนใหญ่มักจะมีสถานการณ์และวิธีการจัดการกรณีที่ต้องทำงานนอกเวลางานดังนี้
การขึ้นระบบ และ/หรือติดตั้งระบบนอกเวลางาน
เนื่องจากระบบที่เราดูแลส่วนใหญ่ เป็นระบบที่มีผู้ใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นการขึ้นระบบที่ต้องปิดการใช้งาน จะต้องถูกกระทำในเวลาที่มีผู้ใช้งานน้อยที่สุด เช่น การขึ้นระบบ application ธนาคารในเวลา 23:00 - 02:00 น. หรือกรณีติดตั้งระบบที่ห้างสรรพสินค้าในเวลา 06:00 - 08:00 น. ซึ่งกรณีมีการขึ้นระบบนอกเวลางาน ทางบริษัทจะมีงบในการสนับสนุนค่าสถานที่ และค่าอาหารของพนักงานที่รับผิดชอบ และสามารถ standby โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศในเช้าวันรุ่งขึ้นได้ตามดุลพินิจของหัวหน้างานในแต่ละสถานการณ์
การรับแจ้งปัญหาและ Support ลูกค้ากรณีมีระบบใช้งานไม่ได้ หรือมี Incident
กรณีลูกค้ามีการแจ้งปัญหานอกเวลางาน โดยส่วนใหญ่บริษัทจะมีพนักงาน Call Center ที่คอยรับเรื่องและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นอยู่แล้ว และหากเป็นเรื่องด่วนที่กระทบต่อการใช้งานของลูกค้าในขณะนั้น หรือก่อให้เกิดความเสียหายกับลูกค้า จะมีการแจ้งเรื่องมาที่ Product Manager ผู้ที่จะต้องแยกแยะปัญหา และส่งเรื่องต่อให้กับ Developer หรือ Supporter ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการและแก้ไขในทันที
ดังนั้นการที่ปัญหาต่างๆจะส่งมาถึงตัวพนักงานได้นั้น จะถูกผ่านการคัดกรอง และประเมินความสำคัญมาก่อนแล้ว ขอให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนั้นๆ และดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ
การทำงานล่วงเวลาเนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ตาม Timeline ที่กำหนดกันไว้
ก่อนเริ่มโปรเจค จะต้องมีการวางแผนการทำงานเพื่อตกลงกันกับลูกค้าก่อนเสมอ แต่เรามักจะเจอเหตุการณ์ที่งานไม่เสร็จตามกำหนด ซึ่งในกรณีนี้ต้องมีการพิจารณาเป็นรายกรณี หากเป็นปัญหาที่เกิดจากการทำงานของเราเอง เราจะต้องรับผิดชอบงานนั้นๆ และอาจจะทำให้ต้องมีการทำงานล่วงเวลาบ้าง
จากเหตุการณ์ข้างต้น จะเห็นว่านอกจากการขึ้นระบบนั้น การที่ต้องทำงานล่วงเวลามักจะเกิดจากมีความจำเป็นของลูกค้าหรือผู้ใช้งานต้องใช้งานระบบนั้นๆ ในนอกเวลางานของเราจริงๆ ดังนั้นเราที่เป็นผู้รับผิดชอบระบบ เราต้องมีความเข้าอกเข้าใจความจำเป็นของผู้ใช้งาน และต้องมีการ action เพื่อทำให้ผู้ใช้งานต้องสามารถใช้งานระบบนั้นๆได้ทันที
ทั้งนี้การต้องทำงานล่วงเวลาด้วยการต้อง Support กรณี Incident เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเป็นปกติ หรือเกิดขี้นบ่อย ถ้าเราสามารถควบคุมคุณภาพของงานที่เรา Deliver ให้กับผู้ใช้งานได้
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ต้องมีความจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาเกินกว่าปกติ ทางหัวหน้าพนักงานสามารถยื่นขอผลตอบแทนพิเศษในเดือนนั้นให้กับพนักงานคนนั้นๆได้ หรือพนักงานเอง ก็สามารถยื่นขอผลตอบแทนพิเศษกับหัวหน้างานได้ โดยการพิจารณาจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหัวหน้างาน และบริษัทบนพื้นฐานความยุติธรรม
Comments